• ศุกร์. มิ.ย. 9th, 2023

อินเดียจะเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อแซงจีนเป็นชาติที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

อินเดียจะเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อแซงจีนเป็นชาติที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

เมษายน 2023คาดว่าช่วงกลางเดือน เม.ย. ปีหน้า อินเดียจะมีจำนวนประชากรแซงหน้าจีน กลายเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก

ทันโลกข่าวต่างประเทศ ชาติยักษ์ใหญ่ในทวีปเอเชียทั้งสองชาติแต่ละแห่งมีประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน และตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา ประชากรจีนและอินเดียคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งโลก ประชากรจีนน่าจะหดตัวลงในปีหน้า ส่วนปีที่แล้วมีคนเกิดในจีน 10.6 ล้านคน มากกว่าจำนวนคนตายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นเพราะอัตราเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราเจริญพันธุ์ของอินเดียก็ลดลงอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จากเดิมในปี 1950 ผู้หญิง 1 คนให้กำเนิดลูก 5.7 คน ลดลงมาอยู่ที่ 2 คนในปัจจุบัน แต่อัตราการลดลงได้ช้าลง การที่อินเดียมีจำนวนประชากรแซงหน้าจีนกลายเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก มีความหมายอย่างไรจีนมีจำนวนประชากรลดลงเร็วกว่าอินเดีย จีนลดอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรลงได้ราวครึ่งหนึ่งจาก 2% ในปี 1973 ลงมาอยู่ที่ 1.1% ในปี 1983 นักประชากรศาสตร์ระบุว่า การทำเรื่องนี้ได้เป็นเพราะจีนไม่คำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนจากการรณรงค์ 2 เรื่องที่ส่งเสริมให้มีลูกเพียงคนเดียวและแต่งงานช้าลง มีลูกทิ้งช่วงกันนานขึ้นและมีลูกน้อยลง ในชนบทที่มีคนยากจนและไร้การศึกษาจำนวนมาก อินเดียมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วเกือบ 2% ต่อปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่แล้ว เมื่อเวลาผ่านไป อัตราการตายลดต่ำลง อายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น และรายได้สูงขึ้น คนจำนวนมากโดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ เข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและระบบระบายน้ำทิ้งที่ทันสมัยมากขึ้น “แต่กระนั้น อัตราการเกิดก็ยังสูงอยู่” ทิม ไดสัน นักประชากรศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน กล่าว อินเดียได้เริ่มโครงการวางแผนครอบครัวในปี 1952 และออกนโยบายประชากรแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี 1976 เท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงที่จีนกำลังพยายามลดอัตราการเกิดลง

อินเดียจะเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อแซงจีนเป็นชาติที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

แต่การบังคับคนยากจนหลายล้านคนให้ทำหมันในโครงการวางแผนครอบครัวในช่วงที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินในอินเดียในปี 1975 ซึ่งมีการระงับสิทธิเสรีภาพของพลเมืองหลายอย่าง ได้นำไปสู่การต่อต้านการวางแผนครอบครัว “แนวโน้มการลดลงของการเจริญพันธุ์คงจะเร็วกว่านี้ในอินเดีย

ถ้าไม่มีการประกาศใช้ภาวะฉุกเฉิน และถ้านักการเมืองทำงานเชิงรุกมากกว่านี้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้รัฐบาลในเวลาต่อ ๆ มาก ระมัดระวังมากขึ้นเมื่อต้องทำเรื่องวางแผนครอบครัว” ศาสตราจารย์ไดสัน กล่าว ประเทศและดินแดนในเอเชียตะวันออกหลายชาติอย่าง เกาหลี, มาเลเซีย, ไต้หวัน และไทย ซึ่งได้ออกโครงการเกี่ยวกับประชากรช้ากว่าอินเดียมาก ประสบความสำเร็จในการลดระดับการเจริญพันธุ์ลง, ลดอัตราการตายของแม่และทารก, เพิ่มรายได้ และทำให้การพัฒนามนุษย์ดีขึ้นได้เร็วกว่าอินเดียแต่อินเดียก็ยังไม่เคยเผชิญกับการระเบิดทางประชากรอินเดียมีประชากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 พันล้านคนนับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 1947 และคาดว่า ประชากรของอินเดียจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปอีก 40 ปี แต่อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรค่อย ๆ ลดลงมานานหลายสิบปีแล้ว และอินเดียก็พยายามที่จะเลี่ยงการเผชิญกับ “ภัยพิบัติทางประชากรศาสตร์” ที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นดังนั้นบรรดานักประชากรศาสตร์จึงบอกว่า การที่อินเดียมีประชากรมากกว่าจีน จึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอีกต่อไปการเพิ่มขึ้นของรายได้ การเข้าถึงการศึกษาและสาธารณสุขมากขึ้น ข่าวทันโลกข่าวต่างประเทศ ได้ช่วยให้ผู้หญิงอินเดียมีลูกน้อยลงกว่าเมื่อก่อน อัตราเจริญพันธุ์ได้ลดต่ำลงกว่าระดับทดแทน ซึ่งอยู่ที่ การให้กำเนิดทารก 2 คนต่อผู้หญิง 1 คน ใน 17 รัฐและดินแดนที่รัฐบาลกลางบริหารจากทั้งหมด 22 แห่ง (ระดับทดแทนคือระดับที่การเกิดใหม่เพียงพอในการรักษาจำนวนประชากรให้คงที่) การลดลงของอัตราการเกิดในตอนใต้ของอินเดียเร็วกว่าทางตอนเหนือซึ่งมีประชากรมากกว่า “น่าเสียดายที่อินเดียส่วนมากไม่เหมือนกับทางใต้” ศาสตราจารย์ไดสัน กล่าว “การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ทางเหนือของอินเดียได้กดมาตรการความเป็นอยู่ให้ต่ำลง”