การออกแบบสถาปัตยกรรมช่วยชีวิตคนคิดสั้นที่สะพานโกลเดนเกตได้อย่างไร

Kevin Hines เควิน ไฮนส์ เป็นผู้รอดชีวิตจากคิดสั้นกระโดดสะพานโกลเดนเกต ตอนนี้เขารณรงค์ให้สะพานแห่งนี้มีระบบยับยั้งการฆ่าตัวตาย

การออกแบบสถาปัตยกรรมช่วยชีวิตคนคิดสั้นที่สะพาน

ข่าว สะพานโกลเดนเกต (Golden Gate Bridge) ในนครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ คือหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างอันโด่งดังที่สุดในโลก ทว่านับแต่เปิดใช้งานในปี 1937 สะพานยาว 2.7 กิโลเมตรแห่งนี้ยังกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากใช้กระโดดปลิดชีพตัวเองด้วย ชื่อเสียงเชิงลบดังกล่าวกำลังจะกลายเป็นอดีต เมื่อมีการติดตั้งตาข่ายนิรภัยไว้ด้านใต้สะพาน ซึ่งกลุ่มผู้เกี่ยวข้องหลายคน รวมถึงผู้รอดชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่สะพานแห่งนี้บอกว่า การออกแบบทางสถาปัตยกรรมใหม่นี้จะเป็น “ตัวแปรสำคัญ” ในการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่นี่ “สะพานนี้จะกลายเป็นประทีปนำทางสำคัญที่สุดในการป้องกันการฆ่าตัวตายทั่วโลก” เควิน ไฮนส์ บอกกับบีบีซี ไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะพูดว่า ชายวัย 41 ปีผู้นี้ได้อุทิศชีวิตที่สองของเขาให้แก่สะพานโกลเดนเกต ข่าวออกแบบ ทำไมสถิติล่าสุดจึงชี้ว่า วัยเรียน-วัยทำงานตอนต้น ปลิดชีพตัวเอง เพิ่มมากขึ้นกว่าวัยทำงาน 4 เท่า ตัวเลขคนไทยปลิดชีพตัวเองไต่ระดับขึ้นระหว่างการระบาดของโควิด-19 ทำไมทุก 25 นาที จึงมีแม่บ้านอินเดียฆ่าตัวตาย เมื่อปี 2000 ตอนอายุได้ 19 ปี ไฮนส์รอดชีวิตจากการพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพานโกลเดนเกตที่ความสูง 75 เมตรลงสู่ผืนน้ำอันหนาวเหน็บของมหาสมุทรแปซิฟิก ข้อมูลจาก Golden Gate Bridge Highway and Transportation District หน่วยงานกำกับดูแลพื้นที่บริเวณสะพานโกลเดนเกตระบุว่า นับแต่สร้างแล้วเสร็จเมื่อ 85 ปีก่อน มีคนใช้สะพานแห่งนี้เป็นสถานที่ปลิดชีพตัวเองไปกว่า 1,800 คน หลังจากไฮนส์ฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บสาหัสที่เกิดจากความพยายามฆ่าตัวตายครั้งนั้น เขาก็อุทิศตนเป็นนักรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย อีกทั้งร่วมมีส่วนผลักดันให้มีการติดตั้งตาข่ายนิรภัยที่สะพานแห่งนี้