“อาคม”ดันแบงก์รัฐเติมทุนดอกเบี้ยต่ำธุรกิจยางพารา

“อาคม”ดันแบงก์รัฐเติมทุนดอกเบี้ยต่ำธุรกิจยางพารา ขณะที่ EXIM BANK จับมือ บสย.นำร่องปล่อยกู้ดอกต่ำ 6-7% พร้อมร่วมลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงโครงการยกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา

ข่าว วันนึั(20ม.ค.)นายอาตม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานในพิธีลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) โครงการยกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา โดยมีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM BANK) บรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (สภาหอฯ) สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมลงนาม นายอาคมกล่าวว่า นอกจากแบงก์รัฐ ซึ่งประกอบด้วยEXIM BANK และ บสย.จะเข้ามาเติมทุนให้แก่ผู้ประกอบการดังกล่าวแล้ว กระทรวงการคลังจะดึงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)และธนาคารกรุงไทยเข้ามาร่วมเติมทุนในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจยางพาราด้วย โดยในส่วนของธ.ก.ส.นั้น จะต้องเข้ามาช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของยาพาราแข่งขันในตลาดโลก เขากล่าวว่า อุตสาหกรรมยางพารานั้น สร้างรายได้เข้าประเทศราว 7 แสนล้านบาทต่อปี แต่การต่อยอดคุณภาพการผลิตเพื่อการส่งออกนั้น ยังมีปัญหาเรื่องของสภาพคล่องที่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ดังนั้น ในส่วนของแบงก์รัฐจะต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนโดยเฉพาะในห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิต ซึ่งจะช่วยทำให้ยางมีคุณภาพและราคาดี “วันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการบูรณาการความร่วมมือของผู้ประกอบการกับเอ็กซิมแบงก์และบสย.แต่ในระยะต่อไปคลังเองก็จะขอให้ธ.ก.ส.และกรุงไทยเข้ามาช่วยเติมทุนในธุรกิจห่วงโซ่อุปทานของยางพาราด้วย” โครงการดังกล่าว นับเป็นการสานพลังครั้งสำคัญระหว่างสถาบันการเงินของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังกับภาคอุตสาหกรรมไทยเพื่อแก้ปัญหาและยกระดับการพัฒนาสินค้าเกษตร ได้แก่ยางพารา นำโดยสภาหอฯ และ สรท. กยท. และนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก เพื่อนำร่องยกระดับการพัฒนาเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยในกลุ่มสินค้ายางพารา ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศ

“อาคม”ดันแบงก์รัฐเติมทุนดอกเบี้ยต่ำธุรกิจยางพารา

ทั้งในมิติของการสร้างงาน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีเกษตรกรและผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องมากถึง 1.7 ล้านครัวเรือน หรือกว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศ และในมิติของการสร้างรายได้เข้าประเทศ

จากการส่งออกยางพาราแปรรูปขั้นต้นและการต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ยางพาราในระดับปลายน้ำรวมเป็นมูลค่าส่งออกสูงถึงกว่าปีละ 6.8 แสนล้านบาท โดยไทยนับเป็นผู้ส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์รายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก อีกทั้งอุตสาหกรรมยางพารา โดยเฉพาะการผลิตในระดับต้นน้ำก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในประเทศจำนวนมหาศาล เนื่องจากมีการใช้ปัจจัยการผลิตในประเทศ (Local Content) สูงถึงกว่า 90% จึงกล่าวได้ว่า ยางพาราเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยสร้างและกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนคนไทยอย่างแท้จริง โครงการดังกล่าวจะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของยางพาราและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง อันจะช่วยกระตุ้นเม็ดเงินและขยายธุรกรรมในอุตสาหกรรมให้ขยายตัว และมีส่วนสนับสนุนการเติบโตและการปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียวของภาคการผลิตและส่งออกยางพาราของประเทศไทยต่อไป โดยเฉพาะ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากระบบสถาบันการเงินได้มากขึ้น สะดวกขึ้นในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม ช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราและที่เกี่ยวเนื่องให้สามารถเริ่มต้น ข่าวการเงิน เริ่มปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียวหรือขยายธุรกิจเชื่อมโยงกับ Supply Chain ของโลกได้รวมถึงให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการอย่างครบวงจรท่ามกลางโอกาสและความท้าทายจากสถานการณ์เศรษฐกิจและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของโลกและประเทศไทย ความร่วมมือในภาครัฐบาลคู่ขนานกับภาคเอกชนในครั้งนี้จะช่วยปลดล็อกข้อจำกัดในมิติต่าง ๆ ทั้งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โอกาสทางธุรกิจ และเงินทุนของผู้ประกอบการทั้งระดับนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาโดยเฉพาะ SMEs ซึ่งเป็นคนตัวเล็กในโลกธุรกิจ โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เชื่อมโยงกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจฐานรากและต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือดังกล่าว จะเริ่มต้นนำร่องกับนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ด้านนายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ธนาคารพร้อมเติมทุนให้ผู้ประกอบการยางพาราโดยไม่จำกัดวงเงิน โดยอัตราดอกเบี้ยสำหรับรายใหญ่ รายกลางและรายเล็กจะอยู่ในอัตรา 6-7%ต่อปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 12-18% ต่อปี