1 ปีวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน กับการส่งออกของไทย กระทบทางตรงและทางอ้อม

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนและพันธมิตรชาติตะวันตก ที่ดำเนินมาเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว

ข่าว นับตั้งแต่รัสเซียเข้าไปปฏิบัติการทางทหารในยูเครนเมื่อ 24 ก.พ. 66 นั้น สถานการณ์ดังกล่าวไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยูเครนซึ่งเป็นพื้นที่สู้รบ หรือเศรษฐกิจของรัสเซียด้วยผลจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกเท่านั้น แต่ผลกระทบจากความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยังขยายวงกว้างส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมไปถึงกระทบต่อการส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมาด้วย ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีท่ามกลางการสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน การส่งออกของไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นนอนและได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งผลกระทบทางตรงต่อการส่งออกของไทยที่เห็นได้ชัดเจนคือ การหดตัวของการส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครน 1 ปีวิกฤตรัสเซีย-ยูเครกระทบส่งออกของไทย เนื่องมาจากปัญหาด้านระบบขนส่งและโลจิสติกส์ และระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ โดยการส่งออกไปยังรัสเซียปรับตัวลดลง 10 เดือนต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 65 ทำให้การส่งออกไปรัสเซียทั้งปี 2565 ติดลบจากปีก่อนถึง 43.3% เช่นเดียวกับการส่งออกไปยูเครนที่หดตัวรุนแรง 12 เดือนต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือน ม.ค. 65 ทำให้ทั้งปี 2565 ติดลบ 71.4% โดยแม้ว่าการลดลงของการส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครนจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกของไทยในวงจำกัด เนื่องจากมูลค่าการส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครนมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดของไทย (สัดส่วนรวมกันประมาณ 0.5% ในปี 2564) เพราะหลังเกิดการสู้รบการส่งออกรวมของไทยก็ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง โดยครึ่งแรกของปี 2565 ขยายตัว 12.6 % แต่ผลกระทบทางอ้อมจากความขัดแย้งและมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียกลับส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยเป็นวงกว้าง ทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่งสินค้า การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบและขาดแคลนวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก แร่สำหรับผลิตเซมิคอนดักเตอร์และแบตเตอรี่ ธัญพืช (ข้าวสาลี ข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน) และปุ๋ย เป็นต้น และยิ่งไปกว่านั้น ราคาพลังงาน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง และการชะงักงันของห่วงโซ่การผลิตอันเนื่องมาจากความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนานนั้น ผลักดันให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นทั่วโลก นำมาซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนและธุรกิจ และทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงตามมา ซึ่งกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผลกระทบดังกล่าวเริ่มเห็นได้ชัดเจนในช่วง ครึ่งหลังของปี 2565 ที่การส่งออกของไทยชะลอตัวลงต่อเนื่องจนติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือนเมื่อเดือน ต.ค. 65 ที่ 4.4% และต่อเนื่องในเดือน พ.ย. ลบ6% และ ธ.ค. ลบ 14.6% ส่งผลให้ครึ่งปีหลังการส่งออกติดลบ 1.2% แต่ภาพรวมทั้งปี 2565 ยังขยายตัว 5.5% “ แม้ภาพรวมการส่งออกไปยังรัสเซียในปี 2565 จะหดตัวค่อนข้างสูง แต่เมื่อพิจารณารายสินค้า

1 ปีวิกฤตรัสเซีย-ยูเครกระทบส่งออกของไทย

จะเห็นว่าเป็นการหดตัวจากการส่งออกรถยนต์ที่เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทยไปยังรัสเซียมาโดยตลอด (สัดส่วนประมาณ30%) ที่ติดลบถึง75.2% ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งของรัสเซียที่ได้รับความเสียหายจากมาตรการคว่ำบาตรค่อนข้างรุนแรง”

ทั้งนี้ มองว่าหลังจากนี้ไทยยังมีโอกาสส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์เนื่องจากรัสเซียเริ่มขาดแคลนเพราะผลกระทบจากการถอนธุรกิจของชาติตะวันตก ขณะที่สินค้าอื่น ๆ หลายรายการยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหารซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดรัสเซีย โดยการส่งออกสินค้าหลายรายการขยายตัวได้ในระดับสูงในปี 2565 และหลายหลายการขยายตัวกว่าการส่งออกของไทยไปตลาดโลก เช่น ข้าว (+315.5%) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (+197.6%) ผลไม้กระป๋อง (+33.0%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (+44.0%) เครื่องดื่ม (+37.4%) อาหารสัตว์เลี้ยง (+23.5%) และสิ่งปรุงรสอาหาร (+27.6%) รวมไปถึงสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ข่าวเศรษฐศาสตร์ ก็ยังขยายตัวได้ดีและเป็นที่ต้องการ อาทิ เม็ดพลาสติก (+11.7%) น้ำมันสำเร็จรูป (+44.7%) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ (+69.6%) ส่วนกลุ่มสินค้าเหล่านี้ จะยังมีโอกาสส่งออกได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ การส่งออกไปยังรัสเซียในปี 2566 มีโอกาสฟื้นตัวกลับมาได้มากขึ้น ด้วยสัญญาณที่ดีจากเศรษฐกิจรัสเซียในปี 2565 ที่หดตัวเพียง 2.1% ซึ่งดีกว่าที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้ในช่วงแรกของความขัดแย้งว่าจะหดตัวมากกว่า 10% ซึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจรัสเซียยังแข็งแกร่งและสามารถรับมือกับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรได้มากกว่าที่คาดไว้ ขณะที่ในปี 2566 IMF คาดว่าเศรษฐกิจรัสเซียจะกลับมาเติบโตที่ได้ 0.3% ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรใช้โอกาสขยายตลาดจากการที่รัสเซียพยายามหาพันธมิตรทางการค้าใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากมาตรการคว่ำบาตร และทดแทนสินค้าของชาติตะวันตกที่ออกไปจากตลาด ประกอบกับการที่รัสเซียเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง ดังนั้น มองว่าสินค้าไทยยังมีโอกาสอีกมากในตลาดรัสเซีย สำหรับการส่งออกไปยังยูเครน ปีที่ผ่านมาหดตัวเกือบทุกรายการ ทั้งหมวดสินค้าเกษตร (-90.7%) อุตสาหกรรมเกษตร (-69.0%) และสินค้าอุตสาหกรรม (-70.9%) เนื่องจากภาวะสงครามในประเทศที่สร้างข้อจำกัดในทุกด้าน บ่งชี้จากเศรษฐกิจยูเครนในปี 2565 ที่หดตัวถึง 30.4% ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าในขณะนี้การส่งออกไปยูเครนยังไม่มีโอกาสมากนักเนื่องจากยูเครนยังอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เป็นปกติเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐาน และพื้นที่ทางการเกษตรในประเทศเสียหายอย่างหนัก ซึ่งคาดว่าต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แนวโน้มสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนหลังจากนี้นั้น มองว่าการสู้รบจะยังคงมีความยืดเยื้อและไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงในเร็ววันนี้ เนื่องจากรัสเซียประกาศว่าจะยังคงปฏิบัติการทางทหารต่อไป พร้อมทั้งส่งสัญญาณยกระดับปฏิบัติการทางทหาร และวางแผนเพิ่มกำลังพล ตลอดจนการระงับสนธิสัญญาควบคุมการใช้อาวุธนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ ซึ่งกำลังสร้างความกังวลว่าอาจบานปลายกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ ขณะที่ชาติตะวันตกหรือ NATO ก็พร้อมที่จะตอบโต้รัสเซีย ทั้งด้านการทหารด้วยการส่งอาวุธล้ำสมัยให้ยูเครนมากขึ้นควบคู่ไปกับมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย และยังยืนยันความพร้อมที่จะสนับสนุนยูเครนไปจนกว่าความขัดแย้งจะได้ข้อยุติ ด้วยปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงอยู่ ผู้ประกอบการไทยควรประกันความเสี่ยง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแสวงหาการค้าใหม่ๆ ที่มีโอกาสเติบโต